ศาสนา |
ราษฎรทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ มีวัดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกำปัง จำนวน 10 แห่ง ดังนี้ |
|
1. วัดบ้านซาด |
2. วัดบ้านกระเสียว |
3. วัดบ้านจอก |
4. วัดบ้านจาน |
|
5. วัดศรีชลสินธุ์ |
6. วัดบ้านอ้อ |
7. วัดบ้านนา |
8. วัดบ้านกำปัง |
|
9. วัดบ้านใหม่นารี |
10. วัดบ้านไพล |
|
|
|
|
สาธารณสุข
|
ตำบลกำปังมีที่ทำการอนามัยตำบล 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่บ้านใหม่นารี หมู่ที่ 9 ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของตำบลและมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอยู่ 4 คน ได้มีการฝึกอบรมตัวแทนในหมู่บ้านของสาธารณสุข คือ อสม. ซึ่งทั้งตำบลมี อสม. จำนวน 201 คน โดยจะทำงานแทนเจ้าหน้าที่ มีการมอบหมายให้ช่วยดูแลในหมู่บ้าน และปัจจุบันงานด้านสาธารณสุขได้รับการพัฒนาไปมาก
|
|
แรงงาน
|
ประชากรตำบลกำปังทั้งหมด จำนวน 9,547 คน จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,338ครัวเรือน ส่วนใหญ่ทุกครอบครัวจะมีแรงงานทำการเกษตร 2-3 คน ส่วนที่เหลือจะเป็นเด็กและผู้ชรา แรงงานหนุ่มสาวจะไปรับจ้างทำงานในเมือง ในภาคอุตสาหกรรมและบริการ มีการอพยพเคลื่อนย้ายแรงงานในฤดูแล้งี่
|
|
รายได้ รายจ่าย ในครัวเรือน |
รายรับส่วนใหญ่จะได้จากการเกษตร และรับจ้าง ปีใดเกิดภัยธรรมชาติ ทำให้เกษตรมีราย ได้ไม่สมดุลกับรายจ่าย ทำให้เกษตรกรต้องเป็นหนี้ ทั้งในระบบและนอกระบบ |
|
สิ่งก่อสร้างถาวรวัตถุ |
วัด โรงเรียน อนามัย ร้านค้า ฉางข้าว ในเขตตำบลกำปังมีทั้งหมด 15 หมู่บ้าน และทุกบ้านจะมีวัด ซึ่งเป็นสถานที่เป็นจุดศูนย์กลางรวมของทุกหมู่บ้าน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะตั้งอยู่บริเวณกลางชุมชน (หมู่บ้าน) ซึ่งจะเป็นสถานที่ทุกคนจะใช้ประกอบพิธีทางศาสนา |
|
สถานศึกษา |
มีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานประถมศึกษาแห่งชาติ 6 แห่ง ดังนี้ |
1. โรงเรียนบัวปุ่นสันเทียะ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 บ้านกระเสียว 2. โรงเรียนศรีชลสินธุ์ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 บ้านหนองแวง 3. โรงเรียนบ้านจาน ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 บ้านจาน 4. โรงเรียนบ้านนา ตั้งอยู่ หมู่ที่ 7 บ้านนา 5. โรงเรียนบ้านกำปัง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 8 บ้านกำปัง 6. โรงเรียนบ้านอ้อไพล ตั้งอยู่ หมู่ที่ 14 บ้านอ้อเหนือ |
|
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
มีป้อมยามสายตรวจ 1 แห่ง ตั้งอยู่ ถนนสายหนองกระสัง-สำโรง บ้านจอก หมู่ที่ 3 ตำบลกำปัง มีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำป้อม 3 นาย |
|
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
สมาชิกอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) จำนวน 90 คน |
|
สายสัมพันธ์ของคนในสังคม/ ความขัดแย้ง |
ตำบลกำปังในสังคมของคนส่วนใหญ่ จะมีความสัมพันธ์กันในระบบเครือญาติและระบบสังคมครอบครัวจะเป็นครอบครัวใหญ่ จะมีทั้งพ่อ แม่ ลูก หลาน ตา ยาย อยู่ในครอบครัวเครือญาติ ซึ่งจะสังเกตได้จากนามสกุลที่ใช้ จะมีการขยายหรือแยกครอบครัวไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ก็ยังคงมีความสัมพันธ์กันรวมทั้งภายนอกหมู่บ้านด้วย โดยฐานใหญ่จะนับถือกันตามระบบเครือญาติ |
|
แหล่งน้ำใต้ดิน |
ตำบลกำปังไม่สามารถที่จะนำน้ำใต้ดินมาใช้ประโยชน์ได้ เพราะมีปัญหาเรื่องน้ำเค็มและกร่อย จึงไม่มีการขุดเจาะน้ำใต้ดินมาใช้ประโยชน์ |
|
แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น |
มีการขุดสระน้ำ เพื่อใช้ประโยชน์ในการอุปโภคและบริโภคเท่านั้น ซึ่งสระน้ำที่ขุดจะขุด โดยโครงการ กสช. และขุดเองโดยชาวบ้าน จะมีอยู่ทุกหมู่บ้าน ซึ่งก็เพียงพอในการอุปโภคบริโภค |
|
ภูมิอากาศ |
ฤดูฝน จะเริ่มมีฝนตก สามารถทำการเกษตรได้ตั้งแต่เดือนเมษายนซึ่งสามารถทำการปลูกพืชไร่ได้ จากสถิติน้ำฝน ปี 2533 – 2546 จะพบว่ามีฝนตกถึง 11 เดือน คือ เริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม ถึงเดือนพฤศจิกายน และปริมาณน้ำฝนที่ตกจะมากที่สุดอยู่ช่วงเดือนกันยายนและเฉลี่ยปริมาณน้ำฝนช่วง ปี 2533 – 2546 คือ 977.01 ม.ม. และเดือน ที่มีการกระจายตัวของฝนดี แต่ช่วงเดือนมิถุนายน ถึงกลางเดือนกรกฎาคมส่วนใหญ่ฝนจะทิ้งช่วงทำให้กล้าข้าวเสียหาย ช่วงเดือนตุลาคมเป็นเดือนที่มีฝนตกกระจายแต่ปริมาณน้ำฝนไม่มากนัก จะลดลงจากเดือนกันยายนเล็กน้อยเดือนธันวาคม ตามสถิติน้ำฝนแล้ว เดือนนี้ไม่มีฝนตกเลย |
ฤดูหนาว อากาศจะเริ่มหนาวต้นเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือนมีนาคมซึ่งอากาศหนาวจะมีเป็นช่วง ๆ ไม่หนาวติดต่อกัน |
ฤดูร้อน อากาศเริ่มร้อนกลางเดือนมีนาคม ถึง เดือน พฤศจิกายน และช่วงที่ร้อนจัดจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน ซึ่งจะเห็นได้ว่าฤดูร้อนจะมีช่วง 3 เดือน |
|